ประวัติ ความเป็นมา ของวิทยาลัยฯ

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานี ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7 บ้านหนองช้าง ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี มีเนื้อที่ทั้งหมด 1,092 ไร่ โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งเป็น “โรงเรียนเกษตรกรรมอุบลราชธานี” ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2520 รับนักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาเกษตรกรรม ครั้งแรกในปีการศึกษา 2522 ต่อมาได้รับอนุญาตให้จัดการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาเกษตรกรรม ครั้งแรกในปีการศึกษา 2524 และกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศยกฐานะเป็น “วิทยาลัยเกษตรกรรมอุบลราชธานี” ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2524 และในปีการศึกษา 2527 ได้จัดการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) ประเภทวิชาเกษตรกรรม

         ปีการศึกษา 2534 ได้รับโล่รางวัล “สถานศึกษาเร่งรัดพัฒนาดีเด่นกรมอาชีวศึกษา” จากการตรวจประเมินคัดเลือกของกรมอาชีวศึกษา

         ในปีการศึกษา 2536 กระทรวงศึกษาธิการได้คัดเลือกวิทยาลัยเกษตรกรรมอุบลราชธานี เป็นสถานศึกษานำร่องในการทดลองจัดการศึกษาตามรูปแบบวิทยาลัยชุมชน โดยการจัดการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาเคมีปฏิบัติการ และประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และต่อมาเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2537 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้ง “วิทยาลัยชุมชนราชธานี ในวิทยาลัยเกษตรกรรมอุบลราชธานี” และในปีการศึกษา 2537 นี้ได้รับการคัดเลือกจากกรมอาชีวศึกษาให้เข้าร่วมโครงการพัฒนาการจัดการวิทยาลัยเกษตรกรรม กรมอาชีวศึกษา ภายใต้ความช่วยเหลือจากรัฐบาลเดนมาร์ค

         ในปีการศึกษา 2538 ได้ขยายการจัดการศึกษารูปแบบวิทยาลัยชุมชนเพิ่มขึ้นในระดับ ปวช. ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาพณิชยการ และในปีการศึกษา 2539 ได้เริ่มรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับ ปวช. ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาเกษตรศาสตร์  ตามโครงการปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิต ซึ่งเป็นโครงการตามนโยบายของนายสุขวิช  รังสิตพล  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น โดยให้นักเรียนได้เรียนฟรี มีที่พักอาศัยในวิทยาลัย  และได้รับเงินอุดหนุนคนละ 5,000 บาทต่อปี โดยแบ่งเป็นภาคเรียนละ 2,500 บาท   เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำโครงการเกษตรเพื่อหาประสบการณ์ และเพื่อการยังชีพในระหว่างการศึกษาและต่อมาเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2539 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยเกษตรกรรมอุบลราชธานี เป็น “วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานี”  ในปีการศึกษา 2539 นี้ วิทยาลัย ได้รับโล่รางวัล “สถานศึกษาเร่งรัดพัฒนาดีเด่นกรมอาชีวศึกษา”  จากการตรวจประเมินคัดเลือกของกรมอาชีวศึกษา

          ในปีการศึกษา 2540 กรมอาชีวศึกษาต้องการใช้ทรัพยากรทุกอย่างของสถานศึกษาเพื่อดำเนินงานโครงการปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิตให้สัมฤทธิ์ผล จึงได้กำหนดให้วิทยาลัย รับนักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับ ปวช. และรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อระดับ ปวส. เฉพาะประเภทวิชาเกษตรกรรมเท่านั้น  โดยงดรับประเภทวิชาสามัญ ในรูปแบบวิทยาลัยชุมชน และในปีการศึกษา 2540 นี้  วิทยาลัย ได้รับรางวัลที่มีคุณค่าสูงยิ่งคือ “สถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับอุดมศึกษา   ปีการศึกษา 2540”  จากการตรวจประเมินคัดเลือกของกระทรวงศึกษาธิการ

        ต่อมาในปีการศึกษา 2541 กรมอาชีวศึกษาได้กำหนดให้วิทยาลัย รับนักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับ ปวช. เฉพาะประเภทวิชาเกษตรกรรม ส่วนการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับ ปวส. นั้น ให้รับเข้าศึกษาต่อได้ทั้งประเภทวิชาเกษตรกรรมและประเภทวิชาอื่น ตามความพร้อมของวิทยาลัย  ซึ่งวิทยาลัยได้เปิดรับเข้าศึกษาต่อในประเภทวิชาและสาขาวิชาเดิม คือ  ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และสาขาวิชาการบัญชี และประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาเคมีปฏิบัติการ

        ในปีการศึกษา 2542 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งมีสาระสำคัญส่วนหนึ่งก็คือการให้ผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข และการกำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในและภายนอกสถานศึกษา ซึ่งกรมอาชีวศึกษาได้คัดเลือกวิทยาลัย เป็นสถานศึกษา  นำร่องในโครงการบูรณาการคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในการเรียนการสอนอาชีวศึกษา และได้รับเกียรติบัตร “สถานศึกษาที่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาจิตพิสัยในระดับการเรียน     การสอนของจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปีพุทธศักราช 2542” ตามโครงการคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และได้รับโล่รางวัลที่ 2 “สถานศึกษาที่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาจิตพิสัยในระบบการเรียนการสอน ระดับอุดมศึกษา เขตการศึกษา 10 ประจำปีพุทธศักราช 2542” ตามโครงการคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติและจากการตรวจประเมินสถานศึกษาตามเกณฑ์การประเมินมาตรฐานอาชีวศึกษาของกรมอาชีวศึกษา วิทยาลัย ได้รับเกียรติบัตร “สถานศึกษาที่ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานอาชีวศึกษา  กรมอาชีวศึกษา ปี พ.ศ. 2542

       ในปีการศึกษา 2543 กรมอาชีวศึกษาได้ปรับเปลี่ยนเกณฑ์และวิธีการประเมินสถานศึกษาซึ่งจากการตรวจประเมินสถานศึกษา วิทยาลัย ได้รับเกียรติบัตร “สถานศึกษาที่ผ่านการประเมินสถานศึกษา กรมอาชีวศึกษา   ปี พ.ศ. 2543”

       ปีการศึกษา 2544 ได้รับการคัดเลือกจากรมอาชีวศึกษาให้เป็นสถานศึกษาในโครงการส่งเสริมการประกันคุณภาพภายในเพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอกโดยได้รับเงินงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) และได้จัดทำรายงานการประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา 2544 ตามกรอบของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย มาตรฐานด้านผู้เรียน 7 มาตรฐาน 27 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานด้านกระบวนการ 3 มาตรฐาน 18 ตัวบ่งชี้  มาตรฐานด้านปัจจัย 4 มาตรฐาน 22 ตัวบ่งชี้ รวมทั้งสิ้น 14 มาตรฐาน 67 ตัวบ่งชี้

       ปีการศึกษา 2545 ได้ดำเนินการประกันคุณภาพภายในตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2545 และได้จัดทำรายงานการประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา 2545 ประกอบด้วยมาตรฐานด้านผู้สำเร็จการศึกษาและผู้เรียน 3 มาตรฐาน 14 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานด้านกระบวนการ 5 มาตรฐาน 22 ตัวบ่งชี้  มาตรฐานด้านปัจจัย 4 มาตรฐาน 18 ตัวบ่งชี้ รวมทั้งสิ้น 12 มาตรฐาน 54 ตัวบ่งชี้ และได้รับการตรวจประเมินคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ระหว่างวันที่ 19 – 21 กุมภาพันธ์ 2546

       ปีการศึกษา 2546 และ 2547  ได้ดำเนินการประกันคุณภาพภายในตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา 2546 และรายงานการประเมินตนเองประจำปีการศึกษา 2547

       ปีการศึกษา 2548 ในระยะแรกได้ดำเนินการประกันคุณภาพภายในตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2545 ต่อมาได้รับแจ้งให้ดำเนินการประกันคุณภาพภายในและจัดทำรายงานการประเมินตนเองประจำปีการศึกษา 2548 ตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา ฉบับใหม่ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2549 ประกอบด้วย มาตรฐานผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาวิชาชีพ 9 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน 12 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 5 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานการบริการวิชาชีพสู่สังคม 2 ตัวบ่งชี้  มาตรฐานนวัตกรรมและการวิจัย 3 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานภาวะผู้นำและการจัดการ 3 ตัวบ่งชี้  รวม 6 มาตรฐาน

 34 ตัวบ่งชี้  เพื่อรับการประเมินภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ในรอบที่สองระหว่างวันที่ 26-28 กรกฎาคม 2549

       ปีการศึกษา 2548 นายรณรงค์   มาลาสาย  นักศึกษา ระดับ ปวส. สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม ได้รับรางวัลนักศึกษารางวัลพระราชทาน

       ปีการศึกษา 2549 สถานศึกษาได้ดำเนินการประกันคุณภาพและจัดทำรายงานการประเมินตนเองตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา ฉบับปี 2549 มี 6 มาตรฐาน 34 ตัวบ่งชี้

       ปีการศึกษา 2550 สถานศึกษาได้ดำเนินการประกันคุณภาพและจัดทำรายงานการประกันตนเองตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา ฉบับปี 2550 มี 6 มาตรฐาน 34 ตัวบ่งชี้

       วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานีได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ด้านการอาชีวศึกษา ตั้งแต่ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2549 ตามหนังสือของ สมศ. ที่ 077/2550 ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2550

       ปีการศึกษา 2551 สถานศึกษาได้ดำเนินการประกันคุณภาพและจัดทำรายงานการประกันตนเองตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา 6 มาตรฐาน 34 ตัวบ่งชี้

       ปีการศึกษา 2551 ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด ปีการศึกษา 2551 ระหว่าง วันที่ 18 – 19 สิงหาคม 2552 จนได้รับโล่รางวัล ระดับค่อนข้างดีมาก จากศูนย์ส่งเสริมอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

       ปีการศึกษา 2551 ได้รับคัดเลือกจากมูลนิธิข้าวไทย ในพระราชูปถัมภ์ ให้เป็นสถานศึกษาจัดค่ายข้าวแก่อนุชนชาวนาไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

       ปีการศึกษา 2552 ได้รับรางวัลที่มีคุณค่าสูงยิ่งคือสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2552 และนักศึกษา ระดับชั้น ปวส. สาขาวิชาพืชศาสตร์  นางสาวอภิญญา  ศรีทิม  ได้รับรางวัลนักศึกษารางวัลพระราชทานในปีเดียวกัน

       ปีการศึกษา 2552 ได้รับคัดเลือกจากมูลนิธิข้าวไทย ในพระราชูปถัมภ์ ให้เป็นสถานศึกษาจัดค่ายข้าว    แก่อนุชนชาวนาไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

       ปีการศึกษา 2552 สถานศึกษาได้ดำเนินการประกันคุณภาพและจัดทำรายงานการประกันตนเองตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา  จำนวน  6 มาตรฐาน 45 ตัวบ่งชี้

       ปีการศึกษา 2553 ได้ผ่านการคัดเลือกเป็นแบบอย่างการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามนโยบายสถานศึกษา 3D ระดับ เหรียญเงิน

       ปีการศึกษา 2553 ได้รับคัดเลือกจากมูลนิธิข้าวไทย ในพระราชูปถัมภ์ ให้เป็นสถานศึกษาจัดค่ายข้าวแก่อนุชนชาวนาไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

       ปีการศึกษา 2553 สถานศึกษาได้ดำเนินการประกันคุณภาพและจัดทำรายงานการประกันตนเองตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา จำนวน 7 มาตรฐาน 45 ตัวบ่งชี้

       ปีการศึกษา 2554 สถานศึกษาได้ดำเนินการประกันคุณภาพและจัดทำรายงานการประกันตนเองตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา จำนวน 7 มาตรฐาน 45 ตัวบ่งชี้

       ปีการศึกษา 2554 สถานศึกษารับการประเมินภายนอกรอบสาม เมื่อวันที่ 3 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554 จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) 

       ปีการศึกษา 2554 ได้รับคัดเลือกจากมูลนิธิข้าวไทย ในพระราชูปถัมภ์ ให้เป็นสถานศึกษาจัดค่ายข้าวแก่อนุชนชาวนาไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

       ปีการศึกษา 2554 สถานศึกษาได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศ โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 4 ราษฎรนำความรู้ที่ได้รับจากวิทยาลัยไปใช้และได้ผลดีเยี่ยม   และประเภทที่ 5 ชุมชนได้รับความรู้และใช้ได้ผลดีเยี่ยม

       ปีการศึกษา 2554 นายสายัณห์  กอมะณี  นักศึกษา ระดับ ปวส. สาขาวิชาสัตวศาสตร์ ได้รับรางวัลนักศึกษารางวัลพระราชทาน

       ปีการศึกษา 2555 ได้รับคัดเลือกจากมูลนิธิข้าวไทย ในพระราชูปถัมภ์ ให้เป็นสถานศึกษาจัดค่ายข้าวแก่อนุชนชาวนาไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

       ปีการศึกษา 2555  นายกิตติ  ยี่ชัย  นักเรียน ระดับ ปวช. สาขาวิชาช่างกลเกษตร ได้รับรางวัลนักเรียนรางวัลพระราชทาน

       ปีการศึกษา 2555  สถานศึกษาได้ดำเนินการประกันคุณภาพและจัดทำรายงานการประกันตนเอง     ตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา จำนวน 7 มาตรฐาน 35 ตัวบ่งชี้

       ปีการศึกษา 2556  สถานศึกษาได้ดำเนินการประกันคุณภาพและจัดทำรายงานการประกันตนเอง     ตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา จำนวน 7 มาตรฐาน 35 ตัวบ่งชี้

       ปีการศึกษา 2556 รางวัลเกียรติคุณยอดเยี่ยม  ประเภทที่ 5 ชุมชนที่ได้รับความรู้จากวิทยาลัยและใช้ได้ผลดีเด่น  ระดับประเทศ  โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน  ประจำปีการศึกษา 2556 โดยสถานศึกษาได้ให้ความรู้แก่บ้านห้วยแดง  ต. ดอนจิก  อ. พิบูลมังสาหาร  จ. อุบลราชธานี 

          ปีการศึกษา 2556 รางวัลเกียรติคุณยอดเยี่ยม  ประเภทที่ 6 โรงเรียนได้รับความรู้จากวิทยาลัยและใช้ได้ผลดีเด่น ระดับประเทศ โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปี 2556 โดยสถานศึกษาได้ให้ความรู้แก่โรงเรียนเพียงหลวง 12 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ต. ห้วยไผ่

 อ. โขงเจียม  จ. อุบลราชธานี 

          ปีการศึกษา 2556 รางวัลชนะเลิศ  ประเภทที่ 5 ชุมชนที่ได้รับความรู้จากวิทยาลัยและใช้ได้ผลดีเด่น  ระดับประเทศ  โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปีการศึกษา 2556 โดยสถานศึกษาได้ให้ความรู้แก่บ้านห้วยแดง  ต. ดอนจิก  อ. พิบูลมังสาหาร  จ. อุบลราชธานี 

          ปีการศึกษา 2556 รางวัลชนะเลิศ  ประเภทที่ 6 โรงเรียนที่ได้รับความรู้จากวิทยาลัยและใช้ได้ ผล ดีเด่น ระดับประเทศ โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปีการศึกษา 2556 โดยสถานศึกษาได้ให้  ความรู้แก่โรงเรียนเพียงหลวง 12 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี  ต. ห้วยไผ่

อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี 

       ปีการศึกษา 2556 นางสาวปิยะนุช  วงศ์ที    นักศึกษา ระดับ ปวช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ได้รับรางวัลนักเรียนรางวัลพระราชทาน

      ปีการศึกษา 2556 สถานศึกษา เป็นเจ้าภาพ งานประชุมวิชาการระดับชาติ องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ 35 ระหว่างวันที่  15 – 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

       ปีการศึกษา 2534 และ 2539 ได้รับโล่รางวัล “สถานศึกษาเร่งรัดพัฒนาดีเด่น กรมอาชีวศึกษา”จากการตรวจประเมินคัดเลือกของกรมอาชีวศึกษา

       ปีการศึกษา 2540 และ 2552 ได้รับรางวัล “สถานศึกษารางวัลพระราชทาน” ระดับอุดมศึกษา

       ปีการศึกษา 2552 ได้รับรางวัล “สถานศึกษาพอเพียง” กระทรวงศึกษาธิการ

       ปีการศึกษา 2554 ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนา ประเภทที่ 4 และ 5

       ปีการศึกษา 2556 ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนา ประเภทที่ 4 และประเภทที่ 5

       ปีการศึกษา 2556 สถานศึกษาได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ ขององค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งชาติประเทศไทยในพระรูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ 35 เมื่อ 15-19 กุมภาพันธ์ 2557

       ปีการศึกษา 2558 ได้รับรางวัลระดับประเทศ “ศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” จากกระทรวงศึกษาธิการ

       ปีการศึกษา 2559 ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศโครงการชีววิถีเพื่อการการพัฒนา ประเภทที่ 2 ครูบุคลากรทางการศึกษานำไปใช้และขยายผลดีเด่น นายชาญณรงค์ วงค์สุววรณ ครูแผนกวิชาพืชศาสตร์ วษท.อุบลฯ

       ปีการศึกษา 2560 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศระดับประเทศ โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาประเภทที่ 2 ครูบุคลากรทางการศึกษานำไปใช้และขยายผลดีเด่น นายวีรพันธ์ ยาวงค์ ครูแผนกวิชาพืชศาสตร์ วษท.อุบลฯ

       ปีการศึกษา 2560 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับประเทศ โครงการศึกษาปัจจุบันไปใช้และขยายผลดีเด่น 3 นักศึกษาปัจจุบันนำไปใช้และขยายผลดีเด่น นายธีรภัทร์ คำม่วน นักเรียนชั้น ปวช.3 เกษตรศาสตร์ วษท.อุบล

       ปีการศึกษา 2562 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับประเทศ โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาประเภทที่ 3 นักเรียนปัจจุบันนำไปใช้และขยายผลดีเด่น นายจารุศักดิ์ พึ่งป่า นักเรียนชั้น ปวช.3 เกษตรศาสตร์ วษท.อุบล และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับประเทศ โครงการชีววถีเพื่อการพัฒนา ประเภทที่ 4 ราษฎรทีได้รับความจากวิทยาลัยและใช้ได้ผลดีเด่น นายเส็ง ธรรมวิจิตร

      ปีการศึกษา 2560 ได้รับรางวัลสถานศึกษาคุณธรรมต้นแบบของกระทรวงศึกษาธิการ